.1. การแตกหน่อ (Budding)
...............เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
การที่สิ่งมีชีวิตจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นั้น สิ่งมีชีวิตจะต้องเกิดกระบวนการย่อยอาหาร เพื่อให้ได้สารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้เป็นสารให้พลังงานและใช้ในการซ่อม-แซมส่วนที่สึกหรอ และให้การเจริญเติบโต สารอาหารโมเลกุลเล็กที่ได้จากการย่อยจะลำเลียงไปยังเซลล์ต่างๆ โดยวิธีการต่างๆ ส่วนพืชจะมีการลำเลียงน้ำ แร่ธาตุจากดินเข้าสู่ราก จากรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของพืช อาหารสังเคราะห์ที่ใบ หรือส่วนอื่นที่มีคลอโรฟิลล์ อาหารที่สังเคราะห์ได้ส่วนใหญ่ พืชจะนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเกิดการย่อยอาหารเหมือนในสัตว์
การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการทางกายภาพ และทางเคมีที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้สารที่มีโมเลกุลเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ อ่านเพิ่มเติม
เซลล์ (Cell) หมายถึง หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิตและหน้าที่ของเซลล์เหล่านั้นเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) หรือ PPLO (Pleuropneumonia - like organism) มีขนาดประมาณ 0.1 - 0.25 mเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เซลล์ไข่นกกระจอกเทศ อ่านเพิ่มเติม
สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุด คืออะตอมธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน
สารต่างๆ ในร่างกายของเรามีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โครงสร้างของสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของเซลล์หรือไม่ อย่างไร และสารเหล่านี้มีการสลายตัวและมีการรวมตัวกันเป็นสารชนิดใหม่ได้อย่างไร คำถามที่กล่าวมานี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบจากบทเรียนนี้
สมบัติของสิ่งมีชีวิต ใช้พลังงาน(เคมี) ในเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิต
1. การสืบพันธุ์ (reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต
7.1 ไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) ไม่มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์
ข้อดี ... ได้จำนวนมากและรวดเร็วมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนพ่อและแม่
ข้อเสีย ... ไม่ก่อให้เกิดความหลากหลาย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
7.2 อาศัยเพศ (sexual reproduction) อาศัยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เพศเมียมาผสมกัน เกิดเป็นหน่วยชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะบางประการแตกต่างออกไป มีทั้งส่วนที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับธรรมชาติ
อ่านเพิ่มเติม